“รัฐบาลดิจิทัล” ซ้ำซ้อน ซ้ำซาก ขาดวิสัยทัศน์ - ณัฐพงษ์เสนอ ปลดกระดุม 2 เม็ดพาไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

อนาคตใหม่ - Future Forward
อนาคตใหม่ - Future Forward
16.4 هزار بار بازدید - 5 سال پیش - วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ
วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส. แบบแบ่งเขต พรรคอนาคตใหม่ อภิปรายสงวนความเห็นในมาตรา 7 ของญัตติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 โดยเสนอหัวข้อ “ภาพรวมรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย” ณัฐพงษ์เริ่มต้นโดยการกล่าวว่า ประเด็นปัญหาดิจิทัลนั้นเกี่ยวข้องกับทุกกระทรวง ตัวอย่าง มาตรา 9 กระทรวงการคลัง มาตรา 16 กระทรวงดิจิทัล มาตรา 19 กระทรวงการคลัง มาตรา 26 กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งหมดล้วนของบประมาณ IT ขอตั้งเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง ขอตั้งศูนย์ข้อมูลตัวเองทั้งหมดเป็นการของบประมาณที่ซ้ำซ้อน ไร้ทิศทาง และไม่จำเป็นในแผนของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งก็เขียนไว้ชัดเจนว่า “การดำเนินการจัดซื้อจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ควรจะตั้ง Cloud กลางของภาครัฐขึ้นมา” แต่ในปีงบฯ 63 ปัจจุบัน จะพบว่ายังมีงบโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ซ้ำซ้อนกันอยู่ เกือบ 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เป็นสำนักงานพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA แล้วเพิ่งกลายมาเป็น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA) เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลไม่เดินหน้าไปไหน เรียกได้ว่าเป็น “ทศวรรษที่สูงหาย” ของรัฐบาลดิจิทัลเลยก็ว่าได้ เหตุผลหลักๆ มาจากการใช้งบประมาณ มีข้อสังเกต 3 ข้อด้วยกัน (เป็นสามคีย์เวิร์ดที่ สพร. เคยให้ความเห็นไว้ในรายงานติดตามผล เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562) “ซ้ำซ้อน” - พิจารณาดังนี้ โครงการ GDCC (Government Data Center and Cloud Services) อยู่ใต้ สดช. กระทรวงดิจิทัลฯ ใช้งบ 391 ล้านบาทเศษ และโครงการ G-CLOUD อยู่ใต้ สพร. ใช้ 545 ล้านบาทเศษ เหตุใดจึงตั้งงบแข่งกันเอง? ได้คำตอบจากที่ประชุมใหญ่ว่า รับทราบแล้วว่าซ้ำซ้อนกันจริง และมีมติแล้วว่าภายในปีหน้า ทุกๆ หน่วยงานของรัฐจะต้องย้ายจาก G-Cloud ไป GDCC ทั้งหมด ต้องร่วมกันจับตาว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ 25 ล้าน Virtual Machine (กต.) , 386 ล้านบาท DC+API+Backup (คลัง) , 47 ล้านบาท DC+Cloud (อุตสาหกรรม) ร่วมพันล้านแล้วที่ลงไปกับ Cloud ซ้ำซ้อนกัน “ซ้ำซ้อน” - ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่การตั้ง EGA ของ ICT (2554) ซึ่งมิได้มีผลงานอะไรมากนัก สู่ DGA ของสำนักนายก (2559) ออกแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลออกมา 3 ฉบับ 59-64 , 60-64 , 63-65 สพร.ให้ความเห็นต่อแผนพัฒนาดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า มีเพียงร้อยละ 12 ของโครงการเท่านั้นที่ทำได้สำเร็จสมบูรณ์ อีกประมาณร้อยละ 88 ยังทำไม่สำเร็จ เกือบ 1 ใน 5 ของจำนวนนี้ยังไม่เริ่มเลยด้วยซ้ำไป แผนการดำเนินงานถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ งบก็ขอกันทุกปีแต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ที่แปรผันตรงต่องบเลย “ขาดวิสัยทัศน์” - สพร. ให้ความเห็นว่ามีลักษณะ “โครงการกระจัดกระจาย (Fragmented Projects)” ต่างหน่วยงานต่างขอ ไม่โฟกัสไปที่เฉพาะบางโครงการที่สำคัญๆ แล้วขับเคลื่อนไปข้างทิศทางเดียว “ถ้าทุกอย่างสำคัญ ก็ไม่มีอะไรสำคัญสักอย่าง” สมาชิกสภาคนหนึ่งเคยเอ่ยไว้ เราไม่ได้กล่าวหาว่าข้าราชการขาดศักยภาพ ข้าราชการเก่งเยอะ แต่สิ่งที่ขาดคือ วิสัยทัศน์ การทำ Blockchain หรือเศรษฐกิจดิจิทัล จะสำเร็จได้อย่างไร ทั้งๆ ที่โครงสร้างพื้นฐานยังมีช่องโหว่อยู่เช่นนี้ ด้วยเหตุนี้ ณัฐพงษ์จึงเสนองบรัฐบาลดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัลแบบอนาคตใหม่ในรูปของ “กระดุม 2 เม็ด” #กระดุมเม็ดแรก – “แก้ปัญหาโครงการกระจัดกระจายให้ได้” แก้โดยการ “คิดโครงการที่เอาไปใช้ร่วมกันได้หลายๆ หน่วยงาน (Common-use Project) จำเป็นต้องทำการ Platformization ต้องสร้าง Platform กลางขึ้นมา Platform หนึ่ง หน้าตาเหมือน Government Cloud ของภาครัฐ ที่มี Content Management System ที่ไม่ต้องทำให้ อปท. ทั่วประเทศต้องใช้การจัดซื้อจัดจ้างสร้างเว็บไซต์ที่แยกกัน หน้าตาออกมาต่างกัน ควรมี CMS กลางออกมาระบบหนึ่ง ให้สร้างเว็บไซต์ได้อย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ตัวอย่าง การสร้าง Digital ID ในประเทศสิงคโปร์ ที่เก็บข้อมูลส่วนตัวของบุคคลแต่ละคนหลายอย่างในรูปแบบดิจิทัล ไม่ต้องมานั่งทำใหม่หมดเวลาไปยื่นสมัครงาน/แบบฟอร์มต่างๆ #กระดุมเม็ดที่สอง - การทำ Integration หรือ การบูรณาการข้อมูล จากทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งการที่จะทำ Integration ได้นั้นต้องอาศัยการทำให้เกิด Standard API กลางที่ทุกคนสามารถเข้าใช้บริการและสามารถเข้าถึงข้อมูลของทุกหน่วยงานภาครัฐได้จากที่ ๆ เดียวกัน มีวิธีเรียกใช้ วิธีในการเข้าถึงข้อมูล แบบเดียวกัน ฯลฯ เป็นต้น การทำ Standard API นี้ จะช่วยลดความซ้ำซ้อนและความยากลำบากในการเชื่อมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพราะหากรัฐปล่อยให้ทุกหน่วยงานไปดำเนินงานในการเปิดเผยข้อมูลด้วยตนเอง สามารถกำหนด API Spec (วิธีในการเรียกใช้และวิธีในการเข้าถึงข้อมูล) เป็นของตนเองได้ ก็จะเกิดสภาวะที่พวกเราเรียกว่าเป็นสถาปัตยกรรม #ระบบสังกะตัง (Hairball System) ที่พวกเราอาจจะต้องใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการ "หลายสิบล้านโครงการ" ที่แต่ละโครงการอาจต้องใช้งบประมาณเป็นตัวเลขที่สูงถึง 8-9 หลักเพื่อเชื่อมระบบของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการประเมินว่าน่าจะมีจำนวนชุดข้อมูลของรัฐอยู่ร่วมกันถึง 10,000 ชุด (นับรวมชุดข้อมูลของทุก อปท. เข้าด้วยกันด้วย) เมื่อข้อมูลทั้งหมดสามารถถูกเปิดเผยต่อเอกชนเพื่อนำไปต่อยอดได้ กระดุมทั้งสองเม็ดข้างต้นนี้ถูกปลดออกแล้ว ประเทศไทยก็จะสามารถเข้าสู่ “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)” ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น AI, IOT, Cloud, Big Data, Open Data, Open Gov, Blockchain ทั้งหมดอยู่ในภาพสุดท้ายนี้คือ เศรษฐกิจดิจิทัล ถ้ายังไม่ปลดกระดุมเม็ดแรกตั้งแต่วันนี้ ก็อย่าของบประมาณในส่วนนี้เลย ---- สามารถดาวน์โหลดไฟล์ภาพนำเสนอได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ Slide (PDF): drive.google.com/…/1eZOIjCnORYBt4hLaRNipWOCrinw1FV… Interactive Slide: prezi.com/view/Bejm9B4vVSWhyB6mVx2P/
5 سال پیش در تاریخ 1398/10/19 منتشر شده است.
16,428 بـار بازدید شده
... بیشتر